Skip links

รู้จักกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคือใคร CPA และ TA แตกต่างกันอย่างไร

ผู้สอบบัญชีรั

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่า ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่าง บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องยื่นงบการเงินประจำปีให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และยื่นแบบภาษีให้กรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด โดยในกระบวนการปิดงบการเงิน จะต้องอาศัยการตรวจสอบจาก “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” เพื่อตรวจสอบบัญชี และรับรองงบการเงินของธุรกิจให้ถูกต้อง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคือใคร ลึก ๆ แล้วต้องทำอะไรนอกเหนือจากการตรวจสอบบัญชีบ้าง และถ้าอยากทำงานสายนี้ต้องมีคุณสมบัติอะไร ติดตามทั้งหมดนี้ได้กับ Accounting Journey ในบทความนี้

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคือใคร

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ ผู้ตรวจสอบบัญชี คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบงบการเงินของธุรกิจนิติบุคคลหรือบริษัท ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า ออดิท หรือ CPA ย่อมาจาก Certified Public Accountant โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทุกรายจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน และได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชีเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ตรวจสอบงบการเงินให้แก่บริษัทต่าง ๆ ได้

3 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องตรวจสอบงบการเงิน รายละเอียดประกอบงบการเงิน และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีของบริษัทผู้ว่าจ้างว่ามีที่มาที่ไปถูกต้องหรือไม่ ดังนี้

  1. เริ่มจากการตรวจสอบงบการเงินซึ่งเป็นภาพใหญ่ของบริษัท มาจนถึงงบทดลอง และบัญชีแยกประเภท ซึ่งเป็นส่วนที่ละเอียดลงมา 
  2. สุดท้ายคือการตรวจสอบเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ซึ่งเป็นส่วนที่ละเอียดที่สุด 
  3. เมื่อตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีแล้ว ก็จะลงนามรับรองในรายงานของผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองความถูกต้องของงบการเงิน เพื่อให้ผู้ว่าจ้างสามารถนำงบการเงินไปยื่นพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50 ให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และกรมสรรพากรเป็นประจำทุกปี

ประเภทบริษัทที่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมาตรวจสอบงบการเงิน

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำอะไรบ้าง

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้ตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจมีกี่ประเภท

ประเภทของผู้ตรวจสอบแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก, ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร, ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. มาดูกันว่า CPA และ TA แตกต่างกันอย่างไร และผู้ตรวจสอบประเภทอื่นมีหน้าที่อะไรกันบ้าง ดังนี้

1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ CPA (Certified Public Accountant)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ CPA คือ ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกที่สามารถตรวจสอบบัญชีและรองรับงบการเงินให้กับบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชีเท่านั้น

2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร หรือ TA (Tax Auditor)

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร หรือ TA (Tax Auditor) คือ ผู้ที่สามารถตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีทรัพย์สินรวมและรายได้รวมของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร

3. ผู้ตรวจสอบภายใน หรือ IA (Internal Auditor)

ผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Internal Auditor คือ ผู้ที่ฝ่ายบริหารของบริษัทหรือองค์กรแต่งตั้งขึ้นเอง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงาน ทดสอบการควบคุมภายใน และกฎระเบียบของบริษัท เพื่อให้การทำงานภายในบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินได้ เพราะเป็นความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเท่านั้น

4. ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. (List of Auditors Approved by the office of SEC)

ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. หรือผู้สอบบัญชีตลาดทุน คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (List of Auditors Approved by the office of SEC) หรือ กลต. โดยสามารถตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินของบริษัทที่อยู่ในตลาดทุน, บริษัทที่ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดทุน (IPO) ได้

วิธีการและคุณสมบัติในการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

สรุปเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบจะขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ตรวจสอบที่เราต้องการจะเป็น สำหรับวิธีการและคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) มีดังนี้

  1. จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรบัญชี หรือหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชี
  2. อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรบัญชี โดยต้องสอบผ่านตามหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
  3. ต้องผ่านการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี
  4. มีประสบการณ์หรือเก็บชั่วโมงฝึกหัดงานด้านสอบบัญชีไม่น้อยกว่า 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี และมีเวลาฝึกหัดงานรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง หรือฝึกอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรทางการสอบบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี
  5. ผ่านการทดสอบ 6 รายวิชา ได้แก่ 
    • วิชาการบัญชี1 
    • วิชาการบัญชี2 
    • วิชาการสอบบัญชี1 
    • วิชาการสอบบัญชี2 
    • วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 
    • วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2
  6. ต้องเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชี
  7. ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ต่อสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อขอรับใบอนุญาต

เมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) มาแล้ว ต้องพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยเก็บชั่วโมงอบรม (CPD) 40 ชั่วโมงต่อปี และรายงานการอบรมภายในสิ้นปีด้วย แม้จะเป็นเส้นทางที่ท้าทาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับผู้จบการศึกษาด้านบัญชีโดยเฉพาะ สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจทุกประเภท การมองหาบริการตรวจสอบบัญชีพร้อมทีมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเคร่งครัด จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน

สรุปเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาระสำคัญเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นับเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะการตรวจสอบงบการเงินประจำปีมีเพียงผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถตรวจสอบพร้อมรับรองงบการเงินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหา บริษัทตรวจสอบบัญชี ทาง Accounting Journey พร้อมให้บริการ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางเว็บไซต์, อีเมล admin@accounting-journey.co.th หรือโทร 080-9898-914 ได้ทุกวัน

ยินดีให้คำปรึกษา

ให้คำปรึกษาโดยทีม Accounting Journey ซึ่งนำทีมโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และมีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบบัญชี กฎหมาย วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนธุรกิจร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถตอบคำถามให้คุณได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในทุกประเด็น

Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า