ไม่ว่าคุณจะเปิดบริษัทหรือทำธุรกิจประเภทไหน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ คือการเสียภาษีเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการได้ตามกฎหมาย โดยมีภาษีนิติบุคคลที่จะต้องมีการคิดคำนวณอย่างถี่ถ้วนก่อนเสียภาษี วันนี้ Accounting Journey จะพาผู้ประกอบการหน้าใหม่ไปทำความรู้จักกับภาษีนิติบุคคลให้มากขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการคิดคำนวณภาษีนิติบุคคล มีรายละเอียดอะไรบ้าง ตามหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ Accounting Journey ในบทความนี้
ภาษีนิติบุคคลคืออะไร
ภาษีนิติบุคคล หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีเงินได้ประเภทหนึ่งที่คิดจากผลกำไรของบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ผ่านการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งภาษีนิติบุคคลจะมีความคล้ายกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงแค่เปลี่ยนผู้จ่ายจากคนทั่วไปเป็นบริษัทแทน ซึ่งการคิดภาษีนิติบุคคลจะช่วยให้บริษัทเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจน จากการนำรายได้ทั้งหมดมาหักลบกับต้นทุน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้เหลือเพียงผลกำไรหรือขาดทุน โดยมีเพียงส่วนของกำไรเท่านั้นที่จะต้องนำมาคิดเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร
บริษัทแบบไหนที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล
บริษัทที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคลมีดังนี้
- บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในประเทศไทย
-บริษัทจำกัด
-บริษัทมหาชนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนจำกัด
-ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน - บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในต่างประเทศแต่เข้ามาทำธุรกิจในไทย
- กิจการที่ดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไร
-รัฐบาลต่างประเทศ
-องค์กรของรัฐบาลต่างประเทศ
-นิติบุคคลอื่นที่ตั้งตามกฎหมายของต่างประเทศ - กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
-บริษัทกับบริษัท
-บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
-ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล - มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
- นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
นิติบุคคลประเภทใดไม่ต้องเสียภาษี
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลโดยตรง เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ และสหกรณ์ของรัฐบาล โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
- บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
ภาษีนิติบุคคลมีกี่แบบ
ภาษีนิติบุคคลมีประเภทของแบบยื่นภาษีทั้งหมด 4 แบบคือ ภ.ง.ด. 50, ภ.ง.ด. 51, ภ.ง.ด. 52 และ ภ.ง.ด. 55 โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ภ.ง.ด. 50 เป็นแบบยื่นภาษีเมื่อสิ้นรอบปีบัญชี สำหรับธุรกิจทุกประเภทเพื่อยืนยันรายได้ตามสิทธิ์ ต้องยื่นแบบภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี
- ภ.ง.ด. 51 เป็นแบบยื่นภาษีครึ่งปี สำหรับรวมรายได้และรายจ่าย 6 เดือนแรก นับตั้งแต่วันเริ่มต้นของรอบบัญชี และต้องยื่นภายใน 2 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นรอบ
- ภ.ง.ด. 52 เป็นแบบยื่นภาษีสำหรับบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในต่างประเทศแต่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ต้องยื่นแบบภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี
- ภ.ง.ด. 55 เป็นแบบยื่นภาษีสำหรับมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ต้องยื่นแบบภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี
ภาษีนิติบุคคลยื่นแบบที่ไหน
ภาษีนิติบุคคลสามารถยื่นแบบแสดงรายการได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่จัดตั้งบริษัท
- ต่างจังหวัด ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรตามที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่จัดตั้งบริษัท
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีนิติบุคคลผ่านเว็บไซต์ E-Filling ของกรมสรรพากร
อัตราภาษีนิติบุคคล
สำหรับอัตราภาษีนิติบุคคล หากเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนขนาด SME ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 30,000,000 บาทจะมีอัตราภาษีสูงสุดที่ 20% ส่วนบริษัทที่ไม่ใช่ SME หรือเป็นระดับมหาชนจะเริ่มเสียภาษีนิติบุคคล 20% ตั้งแต่มีกำไรสุทธิ 1 บาท
|
การคำนวณภาษีนิติบุคคล
การคำนวณภาษีนิติบุคคลนั้นจะมีความคล้ายกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้คิดจากกำไรสุทธิที่เป็นการนำรายได้มาหักลบกับค่าใช้จ่าย และนำมาคูณกับอัตราภาษีที่ภาครัฐกำหนด โดยมีตัวอย่างดังนี้
บริษัท A
- รายได้ปี 2566 1,100,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายปี 2566 700,000 บาท
- กำไรสุทธิ 1,100,000-700,000 = 400,000
(*ได้รับยกเว้น 300,000 บาทแรก) - กำไรสุทธิที่นำมาคำนวนภาษี = 400,000-300,000 = 100,000
จำนวนภาษีนิติบุคคลที่บริษัท A ต้องจ่ายเมื่อสิ้นรอบบัญชี = 100,000×15% = 15,000 บาท
เปิดบริษัทจำกัดต้องเสียภาษีอะไรบ้างนอกจากภาษีนิติบุคคล
นอกเหนือจากภาษีนิติบุคคลที่ต้องเสียแล้ว บริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเสียภาษีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากภาษีนิติบุคคล คือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ มีรายละเอียดดังนี้
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้จ่ายทำการหักออกจากเงินจำนวนเต็ม เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากรทำให้ผู้รับเงินได้ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนไม่เต็มจำนวน เพราะบริษัทหักส่วนนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ภาษีที่กรมสรรพากรเก็บจากการขายสินค้าหรือบริการกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะแยกย่อยออกเป็นภาษีขาย และภาษีซื้อ
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ ธนาคาร ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจเงินทุน โรงรับจำนำ ประกันชีวิต และธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์
- อาการแสตมป์ คือ ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร จัดเก็บในรูปแบบของดวงแสตมป์ที่ใช้ปิดผนึกบนเอกสารสัญญาต่าง ๆ โดยที่กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ
สรุปเกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลสำหรับธุรกิจบริษัทจำกัด
เรื่องของภาษีนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้องค์กรของคุณดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมด้านการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน มีรายได้ ค่าใช้จ่าย ผลกำไร และขาดทุนอย่างไรบ้าง ทำให้พัฒนากิจการได้อย่างตรงจุด สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษีนิติบุคคล หรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ว่าบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนต้องเสียภาษีอะไรอีกบ้าง สอบถามกับ Accounting Journey ผ่าน Line : Accounting Journey หรือโทร 080-9898-914 ได้เลย